วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง คือ พื้นที่การใช้งานในอินเทอร์เน็ต สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป โฮสติ้งมีลักษณะที่เปรียบเทียบได้เหมือนกับ ฮาร์ดดิสก์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ฉะนั้นถ้าคุณมีพื้นที่การใช้งานโฮสติ้งที่มาก คุณก็จะสามารถเก็บ ไฟล์, รูปภาพ, เอกสาร และอื่นๆ ได้มากตามไปด้วยเช่นกัน บางครั้งเราอาจเรียกได้หลายแบบเช่น โฮสติง โฮสติ้ง เว็บโฮสติ้ง โฮสต์ แต่ทั้งหมดก็มีความหมายเหมือนกัน






เริ่มต้นธุรกิจเว็บโฮสติ้งของคุณได้ง่ายๆ

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Cloud computing

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิซ โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบจัดการเนื้อหา (Content management system, CMS)

ระบบจัดการเนื้อหา (Content management system, CMS) คือระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบ และส่งเสริมการทำงานในหมู่คณะ ให้สามารถสร้างเอกสาร หรือเนื้อหาสาระอื่นๆ โดยมากแล้ว ระบบจัดการเนื้อหา มักจะเป็นเว็บแอปพลิเคชันซึ่งใช้จัดการเว็บไซต์และเนื้อหาบนเว็บ และมีไม่น้อยที่ระบบจัดการเนื้อหาต้องใช้ซอฟต์แวร์พิเศษบนเครื่องเครื่องลูกข่าย เพื่อใช้แก้ไขและสร้างบทความต่างๆ
ระบบจัดการเนื้อหา ในตลาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ทำเพื่อการค้าและแบบ โอเพนซอร์ส
เนื้อหาที่อยู่บนระบบอาจจะเป็นเนื้อหาที่เป็น ข้อความตัวอักษร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์เอกสารอื่นๆ ก็ได้

ลำดับการดำเนินงาน

ระบบจัดการเนื้อหามักมีระบบการจัดการลำดับการดำเนินงานของเนื้อหาที่เรียกว่า Workflow ซึ่งลำดับการดำเนินงานนั้นโดยมากจะประกอบไปด้วย

  • ขั้นตอนการนำเนื้อหาเข้าระบบ (Ingestion หรือ Creation)
  • ขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหา (Staging หรือ Approval)
  • ขั้นตอนการนำเนื้อหาไปเผยแพร่ (Delivery หรือ Publishing)

วงจรชีวิตของเนื้อหา

วงจรชีวิตของเนื้อหาภายในระบบจัดการเนื้อหาประกอบด้วย

  • การจัดโครงสร้างหรือการจัดหมวดหมู่ (Organization) เป็นการจัดประเภทให้แก่เนื้อหาสาระว่าเป็นประเภทใด ควรมีโครงสร้างแบบใด เป็นการกำหนด Schema ให้แก้เนื้อหาว่าต้องมีองค์ประกอบเช่นใดบ้าง
  • ลำดับขั้นดำเนินงาน (Workflow) เป็นกฎเกณฑ์หรือนโยบาย การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบต่อเนื้อหาสาระ ของเจ้าของหรือผู้เขียน ของผู้เผยแพร่และของผู้ร่วมมือ เป็นลำดับขั้นตอนของการผ่านร่างของเนื้อหา ก่อนที่จะออกเผยแพร่สู่สาธารณะ
  • การสร้างสรรค์ (Creation) เป็นการนำเข้าข้อมูล การเขียน จับภาพ อัดเสียง รวบรวม เปลี่ยนแปลง แก้ไข เนื้อหาสาระที่อยู่ภายในระบบ
  • การจัดเก็บ (Repository) หมายถึง การจัดเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ การจัดเก็บลงฐานข้อมูล การบันทึกลงสื่อ เพื่อให้คงอยู่ไว้ซึ่งข้อมูลภายในระบบ
  • การกำหนดเวอร์ชัน (Versioning) เป็นการควบคุมการเปลี่ยนแปลง โดยให้มีหมายเลขการเปลี่ยนแปลง หรือการกำหนดวันที่เปลี่ยนแปลง และจัดเก็บสำรองข้อมูลดังเดิมไว้ เผื่อทำการเรียกคืนข้อมูล หรือแก้ไขกลับ และเพื่อให้รู้ถึงสถานะการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล
  • การเผยแพร่ (Publishing) เป็นการนำเนื้อหาสาระออกเผยแพร่สู่สาธารณะ ด้วยการจัดส่งไปยังตัวบุคคล การเผยแพร่ในที่สาธารณะ เป็นต้น
  • การเก็บเอกสาร (Archives) คือการจัดเก็บเนื้อหาที่ถูกใช้งานแล้ว หรือหมดอายุแล้ว โดยนำมาจัดเก็บเพื่อนำไว้ใช้เป็นฐานความรู้ หรือไว้ใช้เพื่อเตรียมนำเสนอใหม่

ประเภทของระบบจัดการเนื้อหา

ระบบจัดการเนื้อหานั้นมีหลายประเภทสามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็น

  • ระบบจัดการเนื้อหาเว็บ เป็นระบบที่ช่วยจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์
  • ระบบจัดการเนื้อหาทางธุรกรรม เป็นระบบที่ช่วยจัดการธุรกรรมสำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • ระบบจัดการเนื้อหาแบบประสาน เป็นระบบที่ใช้ช่วยจัดการเอกสารและเนื้อหาภายในองค์กร
  • ระบบจัดการเนื้อหาสิ่งพิมพ์ ใช้สำหรับช่วยจัดการงานสิ่งพิมพ์และวงจรชีวิตของเนื้อหา เช่น เอกสารการใช้งาน หนังสือ เป็นต้น
  • ระบบการจัดการเรียนรู้ ใช้จัดการวงจรชีวิตของเนื้อหาสาระบนระบบเรียนรู้บนเว็บ เช่น จัดการแบบทดสอบ จัดการแบบการเรียนการสอน เป็นต้น
  • ระบบจัดการเอกสารที่เป็นภาพ ใช้จัดการเอกสารที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบของรูปภาพเช่นการถ่ายสำเนาเป็นต้น
  • ระบบจัดการเนื้อหาระดับองค์กร เป็นระบบที่ใช้จัดการเอกสาร เนื้อหาสาระต่างๆ ภายในองค์กร อาจจะเป็นได้ทั้งระบบเว็บแอปพลิเคชันหรือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนเครื่องลูกข่ายก็ได้

คอนโทรลพาเนล (Control Panel)


  • คอนโทรลพาเนล (Control Panel) ในที่นี้คือระบบจัดการ ที่มีไว้เพื่อบริหารจัดการ Web hosting ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการ Web hosting ผ่านหน้าเว็บเพจได้ เช่น การเพิ่มลดผู้ใช้งาน, สร้าง Reseller, บริหารจัดการฐานข้อมูลและการสำรองข้อมูลของลูกค้า (Data backup) อีกทั้งยังมีระบบ Ticket สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า เมือเกิดข้อสงสัยหรือการแจ้งเตือนเมือ Web Hosting มีปัญหา และอื่นๆ อีกมากมาย






บริการเซิฟเวอร์เสมือนส่วนตัว (Virtual private server หรือ VPS)

  • บริการเซิฟเวอร์เสมือนส่วนตัว (Virtual private server หรือ VPS) เป็นเทคโนโลยีที่ให้เครื่องเซิฟเวอร์หนึ่งเครื่อง จำลองการทำงาน เสมือนเป็นเครื่องเซิฟเวอร์หลายๆ เครื่อง ภายในเครื่องเดียว ทำให้เป็นเอกเทศ และเป็นเสมือนเซิฟเวอร์ส่วนตัวของผู้ใช้บริการ

บริการเซิฟเวอร์ให้เช่า (Dedicated hosting service)

  • บริการเซิฟเวอร์ให้เช่า (Dedicated hosting service) หรือ บริการการจัดการและจัดหาเซิฟเวอร์ เป็นบริการที่ลูกค้าเป็นเจ้าของเครื่อง และสามารถจัดการทรัพยากรเครื่องได้เอง การจัดการบนเครื่องเซิฟเวอร์ยังสามารถร่วมไปถึง บริการตรวจตรา ว่าเซิฟเวอร์ว่าทำงานอยู่ตลอดเวลาอย่างเต็มประสิทธิภาพ, บริการสำรองข้อมูล, บริการปรับปรุงความปลอดภัย และ อื่นๆ ตามแต่ระดับการให้บริการ

บริการพื้นที่บนอินเทอร์เน็ต (Internet Hosting Service)

บริการพื้นที่บนอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet Hosting Service) เป็นบริการที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ตเซิฟเวอร์ ที่อนุญาตให้องค์กรหรือนิติบุคคล ใช้งานเนื้อที่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีบริการในระดับต่างๆ และรูปแบบให้บริการในรูปแบบต่างๆ กันไป
รูปแบบบริการที่มักพบเห็นคือ บริการพื้นที่สำหรับเว็บไซต์ (Web Hosting) ซึ่งผู้ให้บริการส่วนใหญ่ มักรวมบริการพื้นที่สำหรับเว็บไซต์กับบริการอื่นๆ อาทิเช่น บริการพื้นที่สำหรับอีเมล (E-mail Hosting) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี บริการตั้ง DNS และ บริการจดทะเบียนโดเมน ควบคู่กันไป

เว็บโฮสติ้ง

ข่าวเทคโนโลยี

ThaiHostTalk.com - Web Hosting, Dedicated Server, VPS, Co-location & ISP